สถานการณ์ไซเบอร์

สื่อสังคมออนไลน์

แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
ไม่มีไฟล์แนบ

เฟซบุ๊กขู่จะหยุดให้บริการในยุโรปหากต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปกป้องข้อมูลของยุโรป

เว็บไซต์ techspot.com รายงานเมื่อ ๒๒ ก.ย. ๖๓ ว่า บริษัทเฟซบุ๊กอาจต้องหยุดให้บริการในยุโรป หลังจากคณะกรรมาธิการคุ้มครองข้อมูลของไอร์แลนด์ได้ออกคำสั่งให้เฟซบุ๊กต้องยุติการถ่ายโอนข้อมูลผู้ใช้งานชาวยุโรปไปยังสหรัฐฯ ภายในสามสัปดาห์ โดยเฟซบุ๊กอ้างว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ใช่การขู่ที่จะถอนตัวออกจากยุโรป แต่เฟซบุ๊กเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นธรรมจึงได้ขอคุ้มครองจากศาลไอร์แลนด์

ก่อนหน้านี้ เมื่อ ส.ค. ๖๓ คณะกรรมาธิการคุ้มครองข้อมูลของไอร์แลนด์ (Data Protection Commission :DPC) ได้ออกคำสั่งให้เฟซบุ๊กยุติการถ่ายโอนข้อมูลของผู้ใช้งานในยุโรปไปยังสหรัฐฯ หลังจากศาลยุติธรรมของยุโรปตัดสินว่า กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของของสหรัฐฯ มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่เพียงพอ ทั้งนี้ หากเฟซบุ๊กไม่ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวอาจทำให้เฟซบุ๊กถูกปรับถึงร้อยละ ๔ ของมูลค่าผลประกอบการของเฟซบุ๊กทั่วโลกหรือคิดเป็นเงิน ๒,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เฟซบุ๊กเห็นว่าคำสั่งของ DPC ไม่เป็นธรรมและเป็นการเลือกปฏิบัติ จึงได้ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลไอร์แลนด์ให้ระงับคำสั่งดังกล่าว และว่าคำสั่งของ DPC นั้นทำให้เป็นการยากที่เฟซบุ๊กจะเปิดให้บริการได้ในยุโรป ซึ่งมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กและอินสตาร์แกรม ราว ๔๑๐ ล้านคน และว่ามาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรป หากบริษัทอื่นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากยังมีบริษัทอื่นอีกกว่า ๕,๐๐๐ แห่ง ที่เกี่ยวพันกับมาตรฐานการถ่ายโอนข้อมูล (Standard Contractual Clauses : SCC) เช่นเดียวกับเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ DPC ได้ออกคำสั่งดังกล่าวเพื่อหวังปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปซึ่งถูกจัดเก็บในสหรัฐฯ จึงมีความเป็นไปได้ที่ข้อมูลส่วนดังกล่าวอาจถูกสอดส่องจากโครงการสอดแนมของสหรัฐฯ ภายหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถบังคับใช้ระเบียบว่าด้วยการปกป้องข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation :GDPR กับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ได้